ads 728x90

เลือกของเล่นเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารพิษ

ถ้าหากที่บ้านของคุณมีเด็กน้อยตัวเล็ก สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยแน่นอนว่าต้องคือของเล่นเด็ก เพราะของเล่นเด็ก นอกจากจะสร้างความสนุกสนานให้กับลูกน้อยแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการให้เจ้าตัวเล็กแข็งแรงและมีความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ

ภาพจาก McCoy's Heating and Air

แต่การเลือกของเล่นเด็กก็อาจจะต้องคิดหนักกันสักนิด ว่าจะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของลูก ที่สำคัญคือของเล่นเด็กจะต้องปลอดภัย ไร้สารเคมี เพราะเป็นธรรมชาติตามวัยของลูกน้อยที่มีความอยากรู้อยากเห็น อาจจะหยิบจับของเล่นเข้าปาก อมบ้าง เลียบ้าง เป็นธรรมดา ดังนั้นเราจึงต้องมั่นใจว่าของเล่นเด็กที่เลือกให้ลูกจะต้องปลอดภัยไร้กังวลค่ะ

เคล็ดลับการเลือกของเล่นเด็กอย่างปลอดภัย


เคล็ดลับในการเลือกของเล่นเด็กนั้นไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ เน้นเลือกของมีคุณภาพปริมาณน้อย มากกว่าจำนวนมากๆแต่ไม่การันตีคุณภาพ หลีกเลี่ยงของเล่นเด็กที่มีราคาถูกมากๆ เพราะอาจจะมีสารเคมีปนเปื้อนและเป็นอันตรายมากกว่า

ภาพจาก ToyExpress.in

ของเล่นเด็กที่มีกลิ่นน้ำหอม ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีเปอร์เซ็นผสมสารเคมีที่รุนแรงมากกว่า อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของเด็กได้ และที่สำคัญคือของเล่นเด็กเน้นเลือกชิ้นใหญ่ ไม่มีชิ้นส่วนเล็กน้อยที่สามารถดึงออกมา เพราะเด็กอาจจะเอาเข้าปากกลืนได้หากเราไม่ทันสังเกตุค่ะ

ประเภทของเล่นเด็ก


หลังจากเรารู้กันแล้วว่าสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและควรเลือกของเล่นเด็กให้กับเจ้าตัวเล็ก เรามาดูกันในเรื่องของประเภทของเล่นเด็กกันต่อเลยดีกว่า ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภททำจากวัสดุอะไร ปลอดภัยกับลูกน้อยหรือไม่ เริ่มจาก…

ของเล่นเด็ก – ตุ๊กตา


ตุ๊กตาปุกปุ่ยนุ่มนิ่ม เป็นของเล่นเด็กยอดนิยม อันที่จริงผู้ใหญ่ก็ชื่นชอบไม่แพ้กันเลยทีเดียว (ฮ่าๆ) แต่ภายใต้ความนั่กน่ากอดก็แอบมีภัยร้ายแอบแฝงอยู่เช่นกัน เพราะตุ๊กตามีสารเคมีอันตรายค่อนข้างเยอะหลากหลายประเภท เนื่องจากผลิตจากพลาสติก กำมะหยี่และอุปกรณ์ยัดไส้ด้วยเส้นใยต่างๆ หรือเป็นตุ๊กตาที่มีขนยาวๆ ขนสังเคราะห์ที่มักจะประกอบไปด้วยสารหน่วงการติดไฟ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย

ภาพจาก Northern Beaches Mums

ดังนั้นการเลือกตุ๊กตาสำหรับเด็กเล็ก จะต้องพิจารณาจากตุ๊กตาที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไร้สารเคมี หรือทีฉลากสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ฉลาก GS ฉลากเขียว และฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก่อนนำเอาให้ให้ลูกรักของเราเล่น แนะนำให้ซักทำความสะอาดและนำไปตากแห้งเสียก่อน

ของเล่นเด็ก – วัสดุไม้


ของเล่นเด็กที่ทำจากวัสดุไม้ มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นตัวต่อ บล็อคก่อสร้าง บ้านตุ๊กตา เป็นต้น ของเล่นเด็กที่ทำจากไม้เรียบๆทั่วไป ที่ไม่ได้ทาสีมักจะปลอดภัย แต่ของเล่นเด็กไม้บางอย่างที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะของเล่นไม้ที่มีการติดกาวเป็นส่วนประกอบ จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และสารโลหะหนัก

ภาพจาก Etsy

การเลือกของเล่นเด็กที่ทำจากวัสดุไม้ จะต้องเลือกของเล่นที่มีส่วนประกอบของกาวให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และตัวของเล่นไม้จะต้องไม่เคลือบเงา

ของเล่นเด็ก – พลาสติก


ของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติก เช่น ของเล่นยางสังเคราะห์ ลูกบอล เป็นต้น พลากสติจะมีความยืดหยุ่นเนื่องจากมีการผสมสารทาเลต (Phathalate) ที่ส่งผลต่อฮอร์โมน ดังนั้นควรเลือกของเล่นพลาสติกแบบแข็งจะปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากไม่ได้ผสมสารทาเลต

ภาพจาก The Daily Mash

แต่อย่างไรก็ตามของเล่นพลาสติก อาจจะมีสารโลหะหนักและสรพิษอื่นๆปนเปื้อนอยู่ ดังนั้นการเลือกของเล่นพลาสติก ควรเลือกของเล่นที่มีแบรนด์รับประกันคุณภาพ มีฉลาก “ปลอดพีวีซี PVC-Free” หรือ “ปลอดสารพทาเลต Phathalate-Free” รับรองเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

ตารางสรุปรายการสารเคมีที่มักพบเห็นในของเล่นเด็ก


สารเคมีอันตราย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
Lead (ตะกั่ว) *** ก่อให้เกิดมะเร็ง ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง มีผลกระทบต่อการพัฒนาสมอง
Bishoenol-A (บิสฟีนอล-เอ) ทำให้ระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนหยุดทำงาน และเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง
Brominated Flame Retardants (สารหน่วงกันไฟ) ทำให้พัฒนาการและระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
Cadmium (แคดเมียม) ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้รับสารพิษจากการสูดดม ความสามารถในการสืบพัธุ์ลดลง และหยุดพัฒนาการทางสมองของเด็ก
Chlorinated paraffins (คลอริเนเตทพาราฟิน) ก่อให้เกิดมะเร็ง ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน
Chromium (โครเมียม) ก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดอาการไหม้รุนแรง ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง
Formaldehyde (ฟอร์มาลดีไฮด์) ก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
Aniline (อนิลีน) เป็นพิษมาก ก่อให้เกิดมะเร็งและก่อให้เกิดการกลายพันธุ์
Nonylphenol (โนนิลฟีนอล) ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน
Organotin (ออกาโนติน) ก่อให้เกิดมะเร็ง ระบบฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์หยุดทำงาน
Perfluorinated chemicals (เพอฟลูออริเนตเคมิคัล) พัฒนาการและระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง
Phthalates (softeners) พทาเลต สารทำให้อ่อนตัว พัฒนาการและระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลง
Triclosan (ไตรโคลซาน) เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง



เลือกของเล่นเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารพิษ เลือกของเล่นเด็กอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารพิษ Reviewed by zymeiibear on ตุลาคม 10, 2560 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.