“ทิชชู่เปียก” เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน สามารถทำความสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าจะใช้แค่กระดาษชำระแบบธรรมดา นั้นเป็นเพราะทิชชู่เปียก มีส่วนประกอบหลักคือ “น้ำ” ทำให้เวลาที่เช็ดทำความสะอาด นอกจากคราบสกปรกจะถูกเช็ดออกอย่างหมดจดแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกชุ่มชื้นอีกด้วย
นอกจากนี้ทิชชู่เปียกบางยี่ห้อ มีการประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค สารที่ช่วยบำรุงผิว เข้าไปด้วย จึงทำให้ผู้ใช้มีความมั่นใจเรื่องของความสะอาดมากยิ่งขึ้น ทิชชู่เปียกจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันจ้า
ทิชชู่เปียก ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spun lance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักทอตามลักษณะทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน หรือกระบวนการอื่นๆ
ทิชชู่เปียก มีคุณสมบัติเป็นผาที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี มีน้ำหนักที่เบา และมีความยืดหยุ่น ดังนั้นทิชชู่เปียก จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ สามารถใช้ทำความสะอาดได้ทั้ง ผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบเครื่องสำอาง บางชนิดสามารถใช้ทำความสะอาดผิวของเด็กได้ด้วย
แต่ขึ้นชื่อว่าสารเคมี การเลือกใช้ทิชชู่เปียก จะต้องให้ความระมัดระวัง เพราะส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics) หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่อยู่ภายนอกร่างกาย ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
แต่ถึงแม้ว่า เป็นสารเคมีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ ? อาการแพ้ที่เกิดจากการใช้ทิชชู่เปียก ก็สามารถเกิดขึ้นได้เหมือกนกันค่ะ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์บางตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตราฐานด้านจุลชีววิทยา จำนวน 2 ตัวอย่าง (จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ
พออ่านถึงจุดนี้แล้วก็รู้สึกว่า ทำไมการใช้ทิชชู่เปียก ถึงอันตรายขนาดนี้ (ฮ่าๆ) อันที่จริงแล้ว การใช้ทิชชู่เปียก ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิดค่ะ เพียงแค่เรารู้จักเลือกทิชชู่เปียก และใช้งานอย่างถูกต้อง โดยขั้นตอนการพิจารณาเลือกและการใช้งานมีดังต่อไปนี้ค่ะ …
ทีนี้เราก็พอที่จะรู้เทคนิคการเลือกทิชชู่เปียกเบื้องต้นกันแล้วเนอะ ถ้าหากคุณทำตามขั้นตอนที่กล่าวมา ก็มั่นใจได้ในระดับนึงว่า ทิชชู่เปียกที่เรานำมาใช้งาน จะมีความปลอดภัยและอ่อนโยน โดยหากคุณกำลังมองหาทิชชู่เปียกที่ใช้สำหรับเด็ก ลองแวะเข้ามาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกันที่ > หลักการเลือกกระดาษทิชชู่เปียกสำหรับลูกน้อย
ภาพจาก Huggies
ทิชชู่เปียกกับสารเคมี
ทิชชู่เปียก ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spun lance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักทอตามลักษณะทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน หรือกระบวนการอื่นๆ
ทิชชู่เปียก มีคุณสมบัติเป็นผาที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี มีน้ำหนักที่เบา และมีความยืดหยุ่น ดังนั้นทิชชู่เปียก จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ สามารถใช้ทำความสะอาดได้ทั้ง ผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบเครื่องสำอาง บางชนิดสามารถใช้ทำความสะอาดผิวของเด็กได้ด้วย
ขึ้นชื่อว่าสารเคมี ยังไงก็ควรระวัง
แต่ขึ้นชื่อว่าสารเคมี การเลือกใช้ทิชชู่เปียก จะต้องให้ความระมัดระวัง เพราะส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics) หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่อยู่ภายนอกร่างกาย ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
แต่ถึงแม้ว่า เป็นสารเคมีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ ? อาการแพ้ที่เกิดจากการใช้ทิชชู่เปียก ก็สามารถเกิดขึ้นได้เหมือกนกันค่ะ
ภาพจาก Reader's Digest
ผลการวิจัย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์บางตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตราฐานด้านจุลชีววิทยา จำนวน 2 ตัวอย่าง (จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ
แล้วทิชชู่เปียกแบบไหนดี ?
พออ่านถึงจุดนี้แล้วก็รู้สึกว่า ทำไมการใช้ทิชชู่เปียก ถึงอันตรายขนาดนี้ (ฮ่าๆ) อันที่จริงแล้ว การใช้ทิชชู่เปียก ไม่ได้อันตรายอย่างที่คิดค่ะ เพียงแค่เรารู้จักเลือกทิชชู่เปียก และใช้งานอย่างถูกต้อง โดยขั้นตอนการพิจารณาเลือกและการใช้งานมีดังต่อไปนี้ค่ะ …
- ควรเลือกทิชชู่เปียกที่มีฉลาภาษาไทยชัดเจนครบถ้วน มีเลขที่ใบรับแจ้ง ระบุผู้ผลิตชัดเจน และควรสังเกตหากใช้แล้วมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง ต้องหยุดใช้และไปพบแพทย์ทันที
- ใช้ทิชชู่เปียกอย่างถูกวิธี ปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลาก เช่น ไม่ควรใช้เช็ดรอบดวงตา เป็นต้น
- ทิชชู่เปียกที่ระบุว่า ฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาศที่อาจจะก่อให้เกิดอาการเชื้อโรคดื้อยาในสิ่งแวดล้อม
- ควรใช้ทิชชู่เปียกแต่พอดี เพื่อเป็นการไม่สร้างขยะให้กับสิ่งแวดล้อม ถ้าหากอยู่บ้านหรือที่ทำงาน และมีเวลามากพอ แนะนำให้ลุกขึ้นเดินไปล้างมือทำความะสอาดในห้องน้ำด้วยสบู่จะดีกว่า ได้ลุกเดินออกกำลังกายด้วยนะ
- ทิชชู่เปียก เมื่อใช้แล้วควรทิ้งทันที เพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากการเช็ดทำความสะอาดมือของเราแล้ว ไม่ควรนำไปเช็ดทำความสะอาดอย่างอื่นต่อ
- ควรใช้ทิชชู่เปียกอย่างระมัดระวัง เนื่องจากผิวของแต่ละคน มีความแตกต่างกัน มีโอกาศที่จะเกิดอาการแพ้จากส่วนผสมของสารเคมีได้ หากใช้แล้วรู้สึกว่าคัน มีผื่นขึ้น ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์ทันที
ทิชชู่เปียกกับส่วนประกอบหลักที่ปลอดภัย
- น้ำ : เป็นองค์ประกอบหลักเลยของทิชชู่เปียก เป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ในฉลากผลิตภัณฑ์อาจใช้คำที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น water, Puriffed water, Pure Water และ Aqua
- สารลดแรงตึงผิว : มีคุณสมบัติในการช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นผิวได้โดยงาย
- สารช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น : เป็นสารที่ได้จากกรดผลไม้ Malic Acid (สารสกัดจากแอปเปิล), Citric Acid (สารสกัดจากส้ม) หรือ Ascorbic Acid (วิตามินซี)
- สารฆ่าเชื้อโรค : ทิชชูเปียกมีการผสมสารเพื่อฆ่าเชื้อโรคเข้าไปด้วย ที่พบอยู่บ่อยๆจะเป็น Ethanol, Dichlorobenzyl Alcohol, Benzalkonium Chloride Isopropyl Methylphenol เป็นต้น
- วัตถุกันเสีย : ทิชชู่เปียกมีการใส่วัตถุกันเสียเข้าไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพก่อนกำหนด สารที่นิยมใช้กันคือ Sodium Benzoate ที่เป็นได้ทั้งวัตถุกันเสีย และมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อร่วมด้วย
- น้ำหอม : ทิชชู่เปียกบางยี่ห้อ มีการใส่น้ำหอมเพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมชวนให้น่าใช้มากยิ่งขึ้น โดยให้สังเกตุจากบนฉลาก หากมีการผสมน้ำหอมจะมีเขียนอยู่ว่า Fragance, Perfume หรือ Parfum
ทีนี้เราก็พอที่จะรู้เทคนิคการเลือกทิชชู่เปียกเบื้องต้นกันแล้วเนอะ ถ้าหากคุณทำตามขั้นตอนที่กล่าวมา ก็มั่นใจได้ในระดับนึงว่า ทิชชู่เปียกที่เรานำมาใช้งาน จะมีความปลอดภัยและอ่อนโยน โดยหากคุณกำลังมองหาทิชชู่เปียกที่ใช้สำหรับเด็ก ลองแวะเข้ามาอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกันที่ > หลักการเลือกกระดาษทิชชู่เปียกสำหรับลูกน้อย
เลือกทิชชู่เปียกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน
Reviewed by zymeiibear
on
ธันวาคม 05, 2560
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: