ads 728x90

ฟันผุจาก “ขวดนม” คืออะไร ?

เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านกำลังประสบปัญหาในเรื่องของลูกน้อยมักจะผลอยหลับไปพร้อมกับขวดนม โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน เจ้าตัวเล็กจะติดขวดนมมากๆ และอาจจะนำไปสู่ปัญหาฟันผุจากขวดนมตามมาในภายหลัง ดังนั้นเรามาดูแนวทางการแก้ไข และวิธีการผ้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคฟันผุจากขวดนมกันดีกว่าค่ะ

ภาพจาก MomTricks

โรคฟันผุจากขวดนม คืออะไร ?


โรคฟันผุจากขวดนม เป็นอาการที่คุณแม่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่ามันคืออะไร ? งั้นมาเริ่มทำความรู้จักกันไปพร้อมๆกันเลย…

โรคฟันผุจากขวดนม (Baby Bottle Tooth Decay: BBTD) เกิดจาดน้ำตาลในนมที่ตกค้างอยู่ในช่องปากเป็นเวลานาน ถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในช่องปากและเกิดเป็นกรด ซึ่งสามารถทำลายแคลเซียมในฟัน ก่อให้เกิดปัญหาฟันผุในเด็กได้

ช่วงวัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุจากขวดนม


ปัญหาฟันผุจากขวดนม มักจะไม่ค่อยพบในเด็กต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากฟันยังขึ้นเพียงไม่กี่ซี่ แต่ปัญหานี้มักจะพบในเด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุระหว่าง 1-2 ปี ที่ไม่ยอมเลิดดูดขวดนมในตอนกลางคืน เป็นวัยที่คุณแม่จะต้องระวังเรื่องปัญหาสุขภาพฟัน เพราะเด็กในวันีน้ฟันเริ่มขึ้นเยอะแล้ว ประมาณ 18 ซี่ และฟันน้ำนมจะขึ้นครบทั้ง 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 33 เดือน

ภาพจาก Natural Baby Mama

สาเหตุที่เจ้าตัวเล็กติดขวดนม


ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่เจ้าตัวเล็กยังคงติดขวดนม อาจเป็นเพราะรู้สึกมีความสุขหรือสบายใจ เมื่อได้ดูดนมจากขวด ยังไม่มีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง หรือมีความเคยชินกับขวดนมมากเกินไป

นอกจากนี้ยังอาจเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่เองนั้นแหละค่ะ ที่ใจแข็งไม่พอ เมื่อพยายามฝึกเลิกขวดนมไม่สำเร็จ ก็ปล่อยเลยตามเลย เดี๋ยวให้ดูดจากขวด เดี๋ยวให้เลิกดูด ลูกน้อยอาจจะเกิดความสับสน กลายเป็นว่าเลิกยากกว่าเดิมไปอีก

ไม่ฝึกลูกให้เลิกดูดขวดนมในจังหวะเวลาที่เหมาะสม หากปล่อยให้ลูกติดขวดนมเกินกว่าอายุ 18 เดือน แนวโน้มที่ลูกจะติดขวดนมย่อมมีมากขึ้น และจะเป็นอุปสรรคในการเลิกขวดนมในอนาคต

ผลเสียของการปล่อยให้ลูกติดขวดนม


ปัญหาเด็กติดขวดนม อาจจะก่อให้เกิด “โรคฟันผุในเด็ก” ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเด็กที่ไม่สามารถเข้านอนได้ถ้าหากไม่มีขวดนม ซึ่งตรงจุดนี้ที่ส่งผลให้ฟันผุได้ง่าย เพราะมีน้ำนมค้างอยู่ในปากเป็นเวลานาน น้ำตาลในนมจะกลายเป็นกรดที่ทำลายผิวฟันจนเกิดฟันผุ

หากปล่อยให้ลูกฟันผุจนถึงขั้นต้องถอนฟัน อาจเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ปัญหาในการเคี้ยวและกลืนอาหาร ปัญหาการพูด รวมถึงส่งผลกระทบต่อการงอกของฟันแท้ เช่น ฟันแท้อาจไม่ขึ้น หรือเกิดปัญหาฟันคุด และอาจทำให้ฟันแท้เรียงตัวไม่สวยงามอีกด้วย

วิธีป้องกันโรคฟันผุจากขวดนม


คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกเลิกขวดนมได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือน และให้เลิกอย่างเด็ดขาดในช่วงอายุ 2 ขวบ แต่อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคน ก็มีความพร้อมในการเลิกขวดนมที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเลิกได้เองตามธรรมชาติโดยที่พ่อแม่ไม่ต้องเหนื่อยเลยก็ได้ค่ะ

แต่สำหรับเด็กที่ไม่พร้อมจะเลิกขวดนม คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้การเลิกขวดนมของลูกประสบความสำเร็จได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ …

ภาพจาก Sarah Ockwell-Smith

เพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นเมื่อชงนงผง เพื่อเจือจางน้ำตาลในนม อาจใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่หากคุณแม่สังเกตว่าเจ้าตัวเล็กนอนหลับไม่สนิท เพราะหิวจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก ก็ควรให้นมตามเดิม เพื่อให้เขาอิ่มท้องและหลับสนิทตลอดคืน

ไม่ปล่อยให้ลูกหลับไปพร้อมกับขวดนม ควรให้ลูกดูดน้ำตาม หรือหลับไปพร้อมกับขวดน้ำแทน โดยน้ำจะช่วยล้างคราบนมในช่องปากได้

หลังจากดูดนมก่อนนอนแล้ว คุณแม่ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำพันกับนิ้ว เช็ดฟังเช็ดเหงือกให้ลูกทุกคืน เพื่อเช็ดคราบนมออกจากฟันเจ้าตัวน้อย ควรทำก่อนลูกจะหลับสนิท

แปรงฟันให้ลูกวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ การแปรงฟันตอนเช้า เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเด็กที่ยังตื่นมากินนมมื้อดึก จะสามารถช่วยป้องกันฟันผุได้ดี
พาเจ้าตัวเล็กไปตรวจฟันทุกๆ 6 เดือน ตั้งแต่ฟันขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลฟันสำหรับเด็กจากแพทย์อย่างถูกวิธี

วิธีฝึกลูกให้เลิดขวดนมตอนกลางคืน


เปลี่ยนจากการดูดขวดนม เป็นดื่มจากแก้วแทน ซึ่งแน่นอนว่าการไม่ให้ขวดนมกับลูก เป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าหนักใจ เพราะหากตัดสินใจฝึกให้เลิกแล้ว จะต้องห้ามใจอ่อนเด็ดขาด ลูกน้อยงอแง ร้องไห้แค่ไหน ก็ต้องห้ามให้กลับไปใช้ขวดนมเหมือนเดิม เพราะจะกลายเป็นเลิกยากมากกว่าเดิม

แนะนำให้สร้างกิจวัตรก่อนนอนอย่างอื่นขึ้นมา แทนที่จะดื่มนมจากขวด ให้เปลี่ยนเป็นดื่มจากถ้วย พร้อมทั้งเล่านิทาน สร้างบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กคล้อยตามการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมากขึ้น

หากคุณแม่มีเคล็ดลับเด็ดๆ หรือวิธีอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ลองแวะมาแชร์ประสบการณ์ แบ่งปันกับคุณแม่ท่านอื่นกันบ้างนะคะ อิอิ

ฟันผุจาก “ขวดนม” คืออะไร ? ฟันผุจาก “ขวดนม” คืออะไร ? Reviewed by zymeiibear on พฤศจิกายน 27, 2560 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.